เริ่มต้นทำธุรกิจ ทำอย่างไรดี? 12 ขั้นตอนกับการเริ่มต้นทำธุรกิจ

เริ่มต้นทำธุรกิจ ทำอย่างไรดี? 12 ขั้นตอนกับการเริ่มต้นทำธุรกิจ

การเริ่มต้นทำธุรกิจนั้น สำหรับคนที่มีฝันแล้ว หากไม่มีแนวทางหรือ Guideline ที่ดี อาจจะเริ่มทำธุรกิจแล้วผิดทิศผิดทางหรือว่าเสียเวลาเสียทุนไปกับธุรกิจที่ทำ การเริ่มต้นด้วยสินค้าหรือบริการก็เป็นสิ่งที่ดีและคนที่เริ่มต้นทำธุรกิจหลายรายก็เริ่มจากตรงนั้น หรือไม่ก็อาจจะเริ่มจากการมีแหล่งสินค้าหรือวัตถุดิบบางอย่างก่อน ในหลายๆกรณีก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากยังมีปัจจัยอีกหลายๆอย่างที่มองข้ามไป วันนี้ทาง Smart Startup เล็งเห็นความสำคัญตรงนี้ จึงเขียนบทความขึ้นมาเพื่อนำเสนอแนวทางให้กับผู้ที่มีฝันอยากทำธุรกิจ ว่าจะเริ่มต้นทำธุรกิจได้อย่างไรดี?

1. ศึกษาความชอบของตัวเอง: ข้อสำคัญอย่างนึงในการเลือกธุรกิจที่จะทำ คือ ต้องเข้าใจความชอบส่วนตัวของคุณเองก่อนว่าคุณเองชอบลักษณะธุรกิจแบบไหน คุณเป็นคนอย่างไร และการเข้าใจตัวเองนั้นส่งผลอย่างมากต่อธุรกิจที่คุณเลือก ไม่มีความจำเป็นเลยหากคุณเลือกธุรกิจที่มีการเติบโตดีๆ แต่ไม่เหมาะกับคุณ ก่อนจะรู้จักตลาด ต้องรู้จักตัวเองก่อน

2. เรียนรู้ตลาด มองหาโอกาส: เมื่อเรารู้จักตัวเองแล้ว ขั้นต่อไปก็คือต้องหาธุรกิจที่เหมาะสมกับเรา มองหาโอกาสในหลายๆที่ คุยกับคนหลายๆคน อ่านหนังสือเยอะๆ หัดสังเกตุสิ่งที่อยู่รอบๆตัว วิเคราะห์แนวโน้มต่างๆ ธุรกิจบางอย่างไม่มีใครบอกว่าต้องการ แต่คนเห็นโอกาสจะรู้ว่าสินค้าบางอย่างที่ช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้ ยังไม่มีในตลาด และนั่นคือโอกาศ

3. เก็บข้อมูลอุตสาหกรรม: เก็บข้อมูลภาพกว้างๆของธุรกิจ ของอุตสาหกรรม ดูตลาดว่ามีขนาดแค่ไหน แล้วเค้าค้าขายกันอย่างไร คู่แข่งเป็นอย่างไรบ้าง เก็บข้อมูบไปเรื่อยๆ และที่สำคัญคุณต้องรู้จักตลาดดีพอสมควรว่ามันมีความเป็นไปได้ในการเข้าไปทำตลาดเพราะหากตลาดมันเล็กเกินไป การเข้าไปแย่งเค้กชิ้นเล็กก็อาจทำให้เจ็บตัวมากกว่าก็ได้

4. เข้าใจผู้บริโภค: เมื่อรู้แล้วว่าสินค้าและตลาดไหนน่าสนใจ ผู้บริโภคที่เรียกกันว่าพระเจ้านั้น เราจำเป็นที่จะต้องรู้จักผู้บริโภคให้ดีมากๆ การทำการวิจัยตลาดจะช่วยให้เข้าใจกลุ่มเหล่านี้ได้มาก จริงๆแล้วมันไม่ง่ายเลยที่จะดึงเงินจากคนที่ไม่รู้จักเรามาก่อน แต่หากเรารู้จักผู้บริโภคดีแล้ว เราสามารถนำเสนอสินค้าที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าได้ และนั่นทำให้เกิดความเชื่อใจกันระหว่างลูกค้ากับเจ้าของธุรกิจได้ การเข้าไปในแต่ละตลาดโดยที่เราไม่รู้จักอะไรนั้น เหมือนกับว่าเราหลับตาและเดินเข้าไปในป่า และข้อมูลการตลาดเหล่านี้ยังสำคัญมากๆสำหรับการวางแผนธุรกิจด้วยเช่นกัน

5. วางแผนธุรกิจ: แผนธุรกิจและโมเดลธุรกิจนั้นเป็นแนวทางและ framework ในการทำงานที่ดี เนื่องจากเมื่อเราจมกับแผนงานและข้อมูลที่มากล้นนั้น บ่อยครั้งที่ผู้ประกอบการจะหลงทาง การมีแผนธุรกิจนั้นเป็นเสมือนกับเข็มทิศในการดำเนินธุรกิจ เมื่อเรามีข้อมูลการตลาดที่ดีแล้ว เราจะสามารถนำมาวางแผนธุรกิจที่ดีได้ไม่ยากและนั่นจะส่งผลกับการทำธุรกิจของเราอย่างมากมาย

6. วางแผนตลาด: แผนการตลาดเป็นส่วนสำคัญอีกอย่างนึง สินค้าจะขายได้จำเป็นต้องมีการตลาด และการตลาดจะเกิดได้ เราจำเป็นต้องเข้าใจลูกค้าและความเข้าใจของลูกค้าเป็นอย่างดี การเข้าไปนั่งในใจลุกค้าได้และนึกภาพตามลูกค้าได้ ทำให้เรามองภาพตลาดออกและเราจะทำตลาดจากจุดนั้นได้ไม่ยาก

7. สร้างทีม//บุคคลกร: ธุรกิจจำเป็นต้องมีบุคคลากรมาช่วยเราเหล่าเจ้าของกิจการ การทำงานคนเดียวนั้นถึงแม้จะเป็นสิ่งที่ใฝ่ฝันของผู้คิดจะเริ่มทำธุรกิจต่างๆ แต่เชื่อเถอะ การมีทีมและมีผู้ช่วยนั้นทำให้ดีกว่าเยอะ (แต่จำเป็นต้องคุยรายละเอียดกันดีๆด้วย) การมีทีมและบุคคลากรที่ดีจะทำให้เราสามารถก้าวข้ามขอบเขตและข้อจำกัดของการทำงานคนเดียวไปได้เยอะทีเดียวล่ะ

8. การเงินและบัญชี: ถึงแม้จะไม่จำเป็นที่สุด แต่ก็ถือว่าขาดไม่ได้สำหรับเรื่องการเงิน เพราะการค้าขายนั้น เราต้องซื้อของจ่ายเงิน และขายของแล้วรับเงิน การหมุนเวียน cashflow เป็นสิ่งสำคัญมาก วางแผนการเงินดีๆทุกครั้งก่อนเริ่มธุรกิจ

9. ระบบ: ระบบปฏิบัติการและระบบหลังบ้านทั้งหลายไม่ว่าการควบคุมพนักงาน ระบบสต็อค ระบบบริหารสินค้า และอีกสารพัดระบบ วันนึงก็จะต้องมีปัญหาแน่ๆ หากคุณไม่เรียนรู้ที่จะสร้างระบบแบบนี้ ถึงแม้คุณจะไม่ใช่โรงงานมีโรงงานผลิต การสร้างระบบขึ้นมาคุณสามารถขยายกิจการไปได้ไกลและทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากๆ

10. ลงมือทำ: ตามที่เราได้คิดค้นแผนขึ้นมา นำมาลงมือทำซะ การลงมือทำเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะหากไม่ทำแล้ว สิ่งที่เราคิดกันมาวางแผนกันมาตั้งนานก็จะไม่มีทางเป็นตัวเป็นตนได้แน่นอน และจำไว้เสมอ เมื่อเราเปิดประตู ปัญหาต่างๆที่เราคิดไว้มันจะมากและมากกว่าที่คิดไว้มากๆเสมอ สิ่งที่ดีที่สุดคือการค่อยๆแก้ไขและปรับปรุงไปเรื่อยๆ

11. ประเมินผลและปรับปรุง: เมื่อเราเริ่มปฏิบัติ แผนที่เราคิดไว้บางอย่างจะได้ผล หลายๆอย่างจะไม่ได้ผล เราจำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจปัญหาและยืดหยุ่นพอที่จะปรับปรุงเฉกเช่นเดียวกับพ่อครัวที่จำเป็นต้องค่อยๆปรับส่วนผสมต่างๆให้รสชาติของอาหารจานนั้นมีรสชาติกลมกล่อม และนอกจากนี้ทางลัดอีกอย่างนึงก็คือ หาที่ปรึกษาและหาผู้ช่วยมืออาชีพที่มีฝีมือจะพาเรือลำนี้ให้รอดตลอดฝั่งได้

12. เรียนรู้สิ่งใหม่ๆตลอดเวลา: ข้อสำคัญสุดท้ายคือการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆและเปิดรับสิ่งใหม่ๆ โลกใบนี้นับวันจะยิ่งหมุนเร็วขึ้น ผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจต่างๆควรต้องหาทางเรียนรู้ตลาดและเรียนรู้เรื่องราวใหม่ๆตลอดเวลา

Time to start your startup

#ธุรกิจส่วนตัว #ธุรกิจSME #SME #Smartstartup

Leave a Comment